วิศวกรรมสำรวจคืออะไร?
- หนึ่งใน 8 อาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน ตามข้อตกลงยอมรับร่วมกัน
- ประกอบด้วยหลายสาขา แต่ละสาขามีลักษณะงานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่งานสนามจนถึงงานในสำนักงาน
- เป็นสหวิทยาการ(ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลายวิชา) ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอาชีพที่ท้าทาย
งานด้านวิศวกรรมสำรวจเป็นการออกแบบวิธีการรังวัดลักษณะทางกายภาพของโลกเพื่อให้ความแม่นยำสูง รวมไปถึงการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ทำการสำรวจมาเพื่อให้กลายเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจได้
สาขาวิชาในวิศวกรรมสำรวจ
GIS
Geographic Information System (GIS) หรือ ระบบภูมิสารสนเทศคือการศึกษากระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบไปด้วยการเก็บ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบของแผนที่
GNSS
คือการบอกตำแหน่งของวัตถุใดๆบนผิวโลกโดยการรังวัดสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกตัวอย่างของ GNSS หรือที่เรียกติดปากกันว่า GPS ที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น เครื่อง GPS ที่ช่วยนำทางในรถยนต์หรือสมาร์ทโฟน
SURVEYING
การรังวัดโดยการใช้เครื่องมือสนามต่างๆเช่น กล้องระดับ กล้อง total station เพื่อทำแผนที่สำรวจบริเวณ วางตำแหน่งสิ่งก่อสร้าง ซึ่งใช้ในงานก่อสร้างต่างๆรวมถึงงานรังวัดที่ดิน
DIGITAL PHOTOGRAMMETRY
คือการรังวัดด้วยภาพถ่าย โดยข้อมูลหลักที่งาน photogrammetry ให้ความสนใจคือค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่งที่รังวัดได้จากการคำนวณส่วนซ้อนของภาพถ่าย โดยในปัจจุบัน เทคนิคทางด้าน computer vision ได้เข้ามามีบทบาทให้การคำนวณส่วนซ้อนของภาพถ่ายและการคำนวณพิกัดของวัตถุต่างๆ สามารถทำได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ
REMOTE SENSING
คือการศึกษาวิธีการแปลข้อมูลจากวิธีการวัดระยะไกลที่ไม่สัมผัส ซึ่งอาจได้มาจากภาพถ่ายจากกล้องธรรมดา ไปจนถึงข้อมูลภาพถ่ายในช่วงคลื่น เรดาร์, อินฟราเรด, หรือจากแสงเลเซอร์หรือที่เรียกว่า LiDAR
ข่าวและเหตุการณ์
ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
โทร: 0 2218 6652-64
แฟกซ์: 0 2218 6650
Email: survey at eng.chula.ac.th