วิศวกรรมสำรวจคืออะไร?


หนึ่งใน 8 อาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน ตามข้อตกลงยอมรับร่วมกัน
ประกอบด้วยหลายสาขา
มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอาชีพที่ท้าทาย

 

งานด้านวิศวกรรมสำรวจเป็นการออกแบบวิธีการรังวัดลักษณะทางกายภาพของโลกเพื่อให้ความแม่นยำสูง รวมไปถึงการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ทำการสำรวจมาเพื่อให้กลายเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจได้ เนื่องจากข้อมูลเชิงพื้นที่และตำแหน่งเป็นข้อมูลที่พบได้โดยทั่วไป แต่มีความพิเศษกว่าข้อมูลชนิดอื่นๆ จึงทำให้งานทางด้านวิศวกรรมสำรวจเป็นหัวใจหลักของธุรกิจหลายๆด้าน และมีความสำคัญกับการออกแบบและวางผังโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ครอบคลุมถึงถนน สะพาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะงานที่มีความสำคัญต่อการวางรากฐานและการพัฒนาของประเทศเป็นอย่างยิ่ง

วิศวกรรมสำรวจเหมาะกับใคร


วิศวกรรมสำรวจเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจการนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในงานทางด้านการวัดและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะในด้านเรขาคณิตและสถิติ เนื่องจากศาสตร์ทางด้านนี้เกี่ยวข้องกับการวัดมุม วัดระยะ การตรวจสอบความคลาดเคลื่อนและความแม่นยำ รวมไปถึงการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ซึ่งเป็น จุด เส้น รูปปิด หรือรูปร่างสามมิติ หรือเรขาคณิตนั่นเอง นอกจากนี้หากเป็นผู้ที่สนใจด้านการเขียนโปรแกรมจะช่วยส่งเสริมการเรียนและความก้าวหน้าของวิชาชีพได้เป็นอย่างมากเช่นเดียวกับวิศวกรรมศาสตร์สาขาอื่นๆ

สาขาวิชา


คือการศึกษากระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบไปด้วยการเก็บ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ ซึ่งข้อมูลเชิงพื้นที่นี้สามารถพบได้โดยทั่วไปและมีความสำคัญต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เช่นการเดินทาง การหาตำแหน่งที่ตั้งร้าน การวางผังเมือง การจัดการที่ดิน เป็นต้น จึงต้องอาศัยเครื่องมือและกระบวนการจัดการข้อมูลที่ออกแบบมาสำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่โดยเฉพาะ ทำให้ต้องมีการศึกษาแยกออกมาจากระบบสารสนเทศอื่นๆ

GIS ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับงานหลายด้านเช่นทางด้านผังเมือง ก่อสร้าง ขนส่ง การเกษตร รวมไปถึงงานทางด้านธุรกิจการค้า เป็นต้น ตัวอย่างของ GIS ที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น แอปพลิเคชัน Real-time Traffic เป็นการนำข้อมูลการจราจร มาผ่านกระบวนการแปลงจากข้อมูลดิบเป็นเส้นสีที่เข้าใจได้ง่ายด้วยการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ และนำมาแสดงผลโดยการผนวกเข้ากับแผนที่ดิจิทัล ทำให้เราทราบว่าถนนเส้นไหนมีสภาพการจราจรเป็นอย่างไร เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนการเดินทาง โดยเฉพาะในบริเวณกรุงเทพมหานครที่มีผู้สัญจรบนท้องถนนจำนวนมาก

คือการบอกตำแหน่งของวัตถุใดๆบนผิวโลกโดยการรังวัดสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกตัวอย่างของ Global Navigation Satellite System (GNSS) หรือที่เรียกติดปากกันว่า GPS ที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น เครื่อง GPS ที่ช่วยนำทางในรถยนต์หรือสมาร์ทโฟน ในการเรียนที่ภาควิชานี้จะเน้นไปที่ GNSS ความถูกต้องสูง ที่ประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ศาสตร์ ทั้งงานด้านวิศวกรรม เช่น การสร้างจุดอ้างอิงความถูกต้องสูงเพื่อใช้อ้างอิงในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ งานที่ดิน เป็นต้น และงานทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เช่น การศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก การวัดปริมาณไอน้ำในอากาศ เป็นต้น

ในปัจจุบันการรังวัดด้วย GNSS มีแนวโน้มที่จะมีการใช้งานมากขึ้นอันเนื่องมาจากการประยุกค์ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ต้องอาศัยตำแหน่งที่แม่นยำ เช่น รถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ การใช้โดรนเพื่อการเกษร

Photogrammetry คือการรังวัดด้วยภาพถ่าย โดยข้อมูลหลักที่งาน photogrammetry ให้ความสนใจคือค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่งที่รังวัดได้จากการคำนวณส่วนซ้อนของภาพถ่าย โดยในปัจจุบัน เทคนิคทางด้าน computer vision ได้เข้ามามีบทบาทให้การคำนวณส่วนซ้อนของภาพถ่ายและการคำนวณพิกัดของวัตถุต่างๆ สามารถทำได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างงานด้าน Photogrammetry ที่แพร่หลายในปัจจุบัน คือการสร้างพื้นผิวแบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model) ด้วยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม หรือข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ

คือการศึกษาวิธีการแปลข้อมูลจากวิธีการวัดระยะไกลที่ไม่สัมผัส ซึ่งอาจได้มาจากภาพถ่ายจากกล้องธรรมดา ไปจนถึงข้อมูลภาพถ่ายในช่วงคลื่น เรดาร์, อินฟราเรด, หรือจากแสงเลเซอร์หรือที่เรียกว่า LiDAR การสำรวจระยะไกลนี้มีประโยชน์กับการสำรวจสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุทางกายภาพต่างๆบนโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เช่นสถานที่ที่มีสงคราม เป็นดินโคลน หรือในป่าลึก เป็นต้น ทำให้ถูกนำไปใช้ในงานหลายๆด้าน ทั้งการสำรวจทรัพยากร ธรณีวิทยาและโบราณคดี ตัวอย่างการทำงานด้าน Remote Sensing เช่น การตรวจสอบความสมบูรณ์ของผืนป่าจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม NOAA AVHRR การสำรวจทางโบราณสถานด้วย LiDAR และการประเมินสภาพภูมิอากาศจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม RADATSAT เป็นต้น

อาชีพในวิศวกรรมสำรวจ


ข่าวและเหตุการณ์


ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน

กรุงเทพมหานคร 10330

โทร: 0 2218 6652-64

แฟกซ์: 0 2218 6650

Email: survey at eng.chula.ac.th