Faq


A:   จะว่ายากก็ไม่ใช่ง่ายก็ไม่เชิง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เรียนด้วย เนื่องจากรายวิชาที่เรียนในภาควิชาวิศวกรรมสำรวจมีความหลากหลาย คงจะเป็นการยากที่คนหนึ่งคนจะสามารถถนัดหรือชื่นชอบในทุกรายวิชาที่มีการสอน แต่รายวิชาต่างๆจะมีการปูพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน หากตั้งใจทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาและสามารถนำไปต่อยอดได้ การเรียนในภาคก็ไม่ยากเกินความสามารถ

A:   โดยพื้นฐานการเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เรียนควรมีทักษะด้านการคำนวณในระดับหนึ่ง ทักษะอื่นๆที่จำเป็นต่อการเรียนในภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์และแปรผล การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การวางแผนงาน เป็นต้น

A:   การส่องกล้องเป็นพื้นฐานของงานรังวัดที่นิสิตวิศวกรรมสำรวจจำเป็นต้องเรียนรู้ แต่เราไม่ได้เรียนไปเพื่อส่องกล้องเพียงเท่านั้น ในฐานะวิศวกรสำรวจ เราต้องสามารถออกแบบ ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของงานได้ การที่เราได้เรียนรู้ถึงกระบวนการทำงานจะทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นในงานได้ดี หลีกเลี่ยงให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดในงานน้อยที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

A:   งานทางด้านวิศวกรรมสำรวจเป็นงานที่ค่อนข้างเฉพาะทาง และมีการแข่งขันต่ำ เนื่องจากในประเทศไทยมีสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่ไม่กี่แห่ง บุคลากรทางด้านนี้จึงมีน้อยกว่าความต้องการในตลาดแรงงาน โอกาสที่จะได้งานทำนั้นสูงมาก ทั้งนี้ขึ้นกับความสามารถส่วนบุคคลด้วยว่าเหมาะกับตำแหน่งที่เข้าไปสมัครหรือไม่

A:  สามารถทำได้ ปริญญาตรีใบที่สองที่สามารถเรียนได้ คือหลักสูตรของภาควิชาวิศวกรรมโยธา โดยจะใช้เวลาเรียนเพิ่มจากระยะเวลา 4 ปีของหลักสูตรปกติไปอีกประมาณ 2 ปี แต่หากวางแผนการเรียนดีๆ ก็สามารถลดระยะเวลาเรียนลงไปได้อีก

A:   ผู้หญิงสามารถเลือกเรียนในสาขาที่ไม่ต้องทำงานสนาม เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการรังวัดระยะไกลได้